วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กิจการป้าบัวจันทร์กระดาษสา




ผู้สืบทอดกิจการ และถ่ายถอดความรู้ภูมิปัญญา คุณแม่อารีย์  ใจนะเปียง 
กิจการตั้งอยู่ที่ 31/2 หมู่ที่ 1 บ้านต้นเปา ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 โทรศัพท์ 053-339115


รายชื่อผู้จัดทำ (เรียงจากซ้ายไปขวา)
    นาย ภูมิวลิน  ใจปาน  55122636    นาย นัฐพงษ์  จันทร์จอม  55122631  
    นาย อภิวัฒน์  ใจนะเปียง  55122649  นาย   นาย  วิรุต  พวงมาลา  55122642 
    นาย วีรเชษฐ์  ชุมภู  55122643  และ นาย ทรงวุฒิ  อะทะโน  55122630 
    สาขา สารสนเทศศาสตร์ คณะ มนุษย์ศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ประวัติความเป็นมา


        กระดาษสา เป็นกระดาษพื้นเมืองของทางภาคเหนือที่ผลิตด้วยมือ วิธีการทำกระดาษสาถูกเผยแพร่เข้ามาพร้อมกับพุทธศาสนาจากประเทศจีน เพื่อใช้ทำบันทึกคำสั่งสอน ดังนั้นการใช้กระดาษสาของชาวพื้นเมืองทางภาคเหนือจึงเกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและพิธีกรรมทางพุทธศาสนาอย่างมาก กล่าวคือ การตกแต่งถวายทานแทบทุกประเภทจะตกแต่งด้วยกระดาษสาทาสีต่าง ๆ ให้สวยงาม เพื่อใช้ในงานเทศกาลต่างๆ ของวัด และพิธีกรรมต่าง ๆ
        ส่วนกระดาษสาแบบบาติกนั้น เป็นการนำกระดาสาธรรมดาที่ผ่านการทำเป็นแผ่นมาแล้วนำไปเพิ่ม สีสัน ลวดลายให้ตัวกระดาษเอง เพื่อ เพิ่มมูลค่าของกระดาษ และนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกมามาย

   
กล่อง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกระดาษสา


วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์

        การทำกระดาษสาแบบบาติก มีประโยชน์อย่างมากมายอาทิเช่น เป็นการเพิ่มมูลค่าของตัวกระดาษเอง โดยการนำมาปั๊มลวดลาย การลงสีสัน ให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้นและเพิ่มมูลค่า อีกทั้งยังสามารถนำไปต่อ ยอด โดยการทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรุป ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พัด หรือ โคมไฟ ซึ่งใช้กระดาษสาแบบบาติก ทำให้สวยงามมากยิ่งขึ้น



ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาบาติก

                                                          

 โคมไฟจากกระดาษสาแบบบาติก
                                                                                                                                                                                                  กระดาษสาบาติกแบบหลากสีสัน





อุปกรณ์ / วิธีการทำกระดาษสาแบบ บาติก

          1. ตั้งกะทะให้ร้อน จากนั้นใส่พาราฟีนลงไป รอจนกว่า พาราฟีนจะละลาย ประมาณ 5 นาที คุณแม่อารีย์แนะนำเพิ่ม คือใส่ กากเพชรลงไปในขณะต้ม ผสมกับ พาราฟีน จะทำให้ เส้น ลวดลายที่ปั๊มลงบนกระดาษ มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น 

          2. เตรียมกระดาษสาที่จะใช้ทำ กระดาษสา ต้องเป็นกระดาษแบบหนา แบบบางใช้ไม่ได้เพราะจะทำให้ ตัวกระดาษเปือยยุ่ยในเวลาที่ลงสี

          3. จากนั้นนำบล็อค หรือแม่แบบ จุ่มลงในกระทะ ที่มีพาราฟีนละลายอยู่มาปั๊มลงในกระดาษสาที่เตรียมเอาไว้ บล็อคมีหลายรูปแบบ ตามความต้องการ โดยส่วนมาก ที่มีคือ ลายดอกไม้ ใบไม้ และรูปแมลงต่างๆ

          4. นำกระดาษสาที่ปั๊มลายเสร็จเรียบร้อยแล้วไปลงสี 

          5.  หลักจากที่ปั๊มลายเสร็จ ขั้นตอนการลงสี จะมีอยู่ 2ขั้นตอนคือ การลงสีแบบลวดลาย และหลากสีสัน ในที่นี้คือ แบบ หลากสีสัน โดยการนำสีมาชุบลงบนกระดาษ ส่วนการลงแบบลวดลายคือการลงสีเฉพาะในรูปภาพที่ปั๊มลาย 
          ขั้นตอนการลงสีแบบหลากสีสัน คือ ลงสีด้วยโฟมจุ่มในสีย้อมผ้ามาลงในกระดาษสาที่มีลวด
          6.เมื่อลงสีเสร็จแล้ว ก็นำไปตาก ในการตาก จะตากประมาณ 10-15 นาทีก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ทั้งนี้และท้้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ

กระดาษที่แห้งเรียบร้อยแล้วพร้อมจำหน่าย